update newsข่าวเด่นข่าวในประเทศ

ชาวบ้านแม่สะเรียง เริ่มทำข้าวหลามเดือนสี่ เพื่อขึ้นวัดทำบุญตานข้าวใหม่ หรือการถวายข้าวใหม่ เดือนสี่ตามประเพณีโบราณล้านา

*****แม่ฮ่องสอน..ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงนี้จะเห็นได้ว่าชาวบ้านในพื้นที่ อ.แม่สะเรียง  จ.แม่ฮ่องสอน แทบจะทุกครัวเรือนต่างพากันนั่งล้อมวงเผาข้าวหลาม  หรือ ราษฏรที่มีอาชีพเผาข้าวหลามขายจะระดมกำลังในครอบครัวช่วยกันเผาข้าวหลามมากเป็นพิเศษ เพื่อจำหน่ายแก่ชาวพุทธศาสนิกชนที่ไปทำงาน ไม่มีเวลามาเผาข้าวหลามที่ต้องใช้ระยะเวลานานเลยทีเดียว เพื่อจะนำไปทำบุญถวายข้าวใหม่ตามหัววัดต่างๆ ตามประเพณีเดือน 4 ในวันพรุ่งนี้เช้า(6 มกราคม 2566) จะทำกันเป็นประจำในทุกๆปี เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 อากาศจะเริ่มหนาวเย็น ชาวอำเภอแม่สะเรียงที่เป็นพุทธศาสนิกชนในแต่ละบ้าน จะช่วยกันทำและเผาข้าวหลามเพื่อขึ้นวัดทำบุญ

dav

*****นางสุพิณ จิตสว่าง  อายุ 54 ปี ชาวบ้านทุ่งแล้ง ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง มีอาชีพเผาข้าวหลามขายโดยเผาแบบดั้งเดิม เผยว่า ปีนี้ ได้ช่วยกันใส่ข้าวหลามประมาณ 700 กระบอก เพื่อจำหน่ายให้กับพี่น้องประชาชนในอำเภอแม่สะเรียง และมีพ่อค้าแม่ค้าที่มาสั่งทำและซื้อไปเพื่อขายต่อ รวมถึงมีชาวบ้านมาซื้อไปเพื่อทำบุญโดยตรง ซึ่งราคาข้าวหลามที่ขายมีหลายราคาหลายขนาดตั้งแต่กระบอกละ 15, 20, 25 และ 30 บาท   เช่นเดียวกับ บ้านของ นางไร กุลศิริ อายุ 62 ปี ( เสื้อแดง) อาชีพเผาข้าวหลามขายเช่นกัน  เผยว่าป้าเผาข้าวหลามขายทำมานานกว่า 5 ปี ปีนี้ทำและเผาข้าวหลามอยู่ที่จำนวน 700-800 กระบอก ซึ่งมีผู้ซื้อจับจองเป็นเจ้าของหมดแล้ว โดยขายในราคากระบอกละ 20 บาท  ส่วนมากพ่อค้าแม่ขายที่ทำข้าวหลามขายและขึ้นชื่อในความอร่อย อยู่ที่บ้านทุ่งแล้ง ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน

*****สำหรับประเพณีเดือน 4 ถือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน โดยชาวบ้านจะนำ ข้าวใหม่ที่เก็บเกี่ยวเสร็จแล้วมานึ่งให้สุกเพื่อนำมาตักบาตร นอกจากการไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับ และนำข้าวเปลือก ข้าวสาร ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวไปถวายพระสงฆ์ที่วัดในหมู่บ้านนั้นๆ เรียกว่าตานข้าวสารตานข้าวเปลือก จำนวนแล้วแต่เจ้าของต้องการที่จะทำบุญ และส่วนหนึ่งจะนำ ไปให้ ญาติผู้เฒ่าผู้ใหญ่ที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีวิธีการ นำข้าวมาถวายแตกต่างกันออกไป เช่น ถวายเป็นข้าวนึ่งสุกบ้าง เป็น ข้าวจี่บ้าง หรือข้าวหลาม เป็นต้น แล้วนำ มาใส่บาตรหรือถวายพระสงฆ์ที่วัด ซึ่งยังเป็นกุศโลบายของคนโบราณล้านนา ที่สอดแทรกคำ สอนลูกหลานให้มีความกตัญญูกตเวทิตาต่อผู้มีพระคุณ โดยอาศัยฤดูกาลหลังการเกี่ยวข้าวเป็นช่วงทำบุญประเพณีตานข้าวใหม่ หรือเรียกการตานข้าวหลามเดือนสี่