update newsข่าวเด่นข่าวในประเทศสาธารณสุข

ผบ.มทบ.35ตรวจเยี่ยม“อาชาบำบัด”รพ.ค่ายพิชัย

***อุตรดิตถ์…ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 24 ก.พ. พล.ต.ศุภฤกษ์ สถาพรผล ผบ.มทบ.35 พร้อมตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ โครงการ”อาชาบำบัด” ให้กับนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายพิชัยดาบหัก โดยใช้อาชาบำบัดเสริมพัฒนาการเด็ก เพื่อกระตุ้นพัฒนาการในด้านความรู้สึก และการรับรู้เข้าใจด้านการเข้าสังคม และด้านสุขภาพร่างกาย สนามอาชาบำบัด เพื่อ “ฟื้นฟู ดูแล พัฒนาการของน้อง”มาตรการเข้ม โควิด-19 ที่ ร.พ.ค่ายพิชัยดาบหัก อ.เมืองอุตรดิตถ์ โดยมี พ.อ.กฤษฎา ถาวรวัตร์ รองเสธนาธิการ มทบ.35 และพ.อ.สมัย  ขำพันธ์ ผอ. รพ.ค่ายพิชัยดาบหัก แพทย์ พยาบาล ที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ

***พล.ต.ศุภฤกษ์  สถาพรผล ผบ.มทบ.35 กล่าวว่า สำหรับโครงการอาชาบําบัด ซึ่งเป็นนโยบายของกองทัพบก ที่จะมอบหมายให้หน่วยงานที่มีศักยภาพที่ความพร้อมทั้งบุคคลากรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะสานต่อนโยบายดังกล่าว และสร้างความมั่นใจให้ ประชาชน ที่จะนำบุตรหลามเข้ามาร่วมโครงอาชาบำบัด วันนี้มีการทบทวน ที่ได้หยุดทำโครงการไป เพราะด้วยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 หลังจากที่ทางจังหวัดอุตรดิตถ์ มีมาตรการปลดล็อก ได้มาตรวจเยี่ยมความพร้อมในการทบทวนถือว่ามีความพร้อมมาก ม้าทั้ง 6 ตัว ที่ใช้การบำบัด ให้กับเด็กออทิสติก หรือ สมาธิสั้น ก็ได้ดูแลมาตลอด ร.พ.ค่ายพิชัยดาบหักก็จะเริ่มโรงการดังกล่าวต่อไป

***ด้าน พ.อ.สมัย ขําพันธ์ ผอ.ร.พ.ค่ายพิชัยดาบหัก เผยว่า ร.พ.ค่ายพิชัยดาบหัก มทบ.ที่ 35 ดำเนินโครงการอาชาบำบัด เป็นแห่งเดียวในภาคเหนือที่นำศาสตร์ของการใช่สัตว์ในการบำบัดโรคให้มนุษย์ พร้อมมีทีมแพทย์ มีรูปแบบการบำบัดทั้งทางร่างกาย อารมณ์ การสื่อสาร และทักษะอื่นๆ มีกิกรรมที่จะพัฒนาด้านกล้ามเนื้อ การฝากการเรียนรู้ การฝากเชิงสังคมและการปรับพฤติกรรมมีผู้ที่เกี่ยวบำบัด ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ด้านการรักษาพยาบาล ครูม้า ผู้ช่วยจูงม้า และผู้ปกครอง ทำกิจกรรมร่วมกันในการขี่ม้าบำบัด

หลักการใช้ม้าในการบำบัดในกลุ่มเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ กลุ่มเด็ก Autism และกลุ่มการเคลื่อนไหวผิดปกติและพิการทางสมอง จะนำม้ามาใช้ในการบำบัด โดยการบำบัดบนหลังม้าใช้เวลาประมาณ 30 นาที/รอบ ส่วนระยะเวลาที่สามารถทำให้เด็กดีขึ้นขึ้นอยู่กับอาการของเด็กแต่ละราย ความถี่ของการฝากเด็ก 1 ครั้ง/สัปดาห์ ปัจจุบันมีม้าในการดำเนินโครงการ 6 ม้า เด็กที่ผ่านการบำบัดแล้วอาการดี สามารถกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง 5 ด้านดีขึ้น ร้อยละ 87.1

ผอ.ร.พ.ค่ายพิชัยดาบหัก กล่าวอีกว่า โครงการดังกล่าวเริ่มมาตั้งแต่กลางปี 2554 ถือเป็นอีกแนวทางสำหรับบำบัดเด็กพิเศษ และเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะเด็กออทิสติก ที่มีความผิดปกติทางร่างกาย อารมณ์ และสมาธิสั้น ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นโดยวิธีอาชาบำบัด ด้วยม้าของค่ายทหาร และที่ได้รับการบริจาคจากชุมชน ซึ่งเด็กที่ได้รับการบำบัดมีการปรับสภาพร่างกายให้ความสมดุล เสริมสร้างความมั่นใจ กล่อมเกลาจิตใจให้สุขุมเยือกเย็น ลดความก้าวร้าว มีพัฒนาการที่ดี ซึ่งอายุตั้งแต่ 2-10 ขวบ

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับความบกพร่องของเด็กแต่ละราย เมื่อเด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้แล้ว จะทำให้ครอบครัวสามารถกลับไปทำงานหารายได้ และเด็กเองสามารถทำงานและสร้างประโยชน์กับประเทศชาติในอนาคต