19 เมษายน 2024
Latest:
update newsข่าวเกษตรข่าวเด่นเศรษฐกิจ

พัฒนาที่ดิน จังหวัดมหาสารคามจัดกิจกรรมไถกลบตอซังข้าว เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุและแร่ธาตุในดิน ส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร

*****มหาสารคาม..ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผวจ.มหาสารคาม เปิดงานไถกลบตอซังเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุและแร่ธาตุในดิน โครงการส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร โดยความร่วมมือของสถานีพัฒนาที่ดินมหาสารคาม องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโก และบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด(คูโบต้ามหาสารคาม) โดยสถานีพัฒนาที่ดินมหาสารคาม ได้คัดเลือกพื้นที่ บ้านหนองโก ตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมงานไถกลบตอซังเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุและแร่ธาตุในดิน พร้อมหว่านเมล็ดพันธุ์ พืชปุ๋ยสดเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อให้เกษตรกรเกิดการเรียนรู้วิธีการปรับปรุงบำรุงดินให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ เป็นแบบอย่างที่สามารถนำไป ปฏิบัติในไร่นาของตนเองได้ และขยายผลสร้างเครือข่ายให้เกษตรกร ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต มีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

*****นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า จำนวนปริมาณเศษวัสดุเหลือใช้ภาคการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวของเกษตรกร ทั้งฟางข้าว เศษใบอ้อย และเศษพืชไร่อื่นๆ นับได้ว่ามีปริมาณที่มหาศาลที่เกษตรกรไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ และยังมีเกษตรกรจำนวนไม่น้อย ที่ยังเผาตอซัง ก่อให้เกิดผลกระทบและเกิดการสูญเสียอย่างมากมายต่อภาคการเกษตรรวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม การจัดงานไถกลบตอซังเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุและแร่ธาตุในดิน โครงการส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ให้เกษตรกรหันมาไถกลบตอซังและหว่านเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดแทนเป็นกรรมวิธีหนึ่งที่เกษตรกรสามารถนำมาปฏิบัติได้เอง

*****อีกทั้งเป็นการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและจุลินทรีย์ในดิน นับได้ว่าเป็นการพัฒนาตามแนวทางการทำเกษตรแบบยั่งยืน ซึ่งจะช่วยทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมในการนำมาใช้ในการปลูกพืชเกษตรกรสามารถลดต้นทุน มีผลผลิตและรายได้เพิ่มสูงขึ้น ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และคาดหวังว่าเกษตรกร ทุกท่านจะได้นำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปปฏิบัติในไร่นาของตนเอง และเผยแพร่ให้เกษตรกรข้างเคียง เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนต่อไป