update newsข่าวเด่นไลฟ์สไตล์

รายงานพิเศษ..

*****เรื่องราวภูมิปัญญาชาวบ้านในตัวเมืองมหาสารคาม ออกหาดัดปลาไหลตามธรรมชาติ  ส่งจำหน่ายให้กับแม่ค้าในชุมชน สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 400-500 บาท

*****โดยทีมข่าวเดินทางไปพบคุณตาวารินทร์  ยนต์วิราษ์  อายุ 61 ปี  ชาวบ้านแก่งเลิงจาน ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม กำลังดักปลาไหลตามท้องไร่ท้องนา  ด้วยการนำท่อพีวิซี มาประยุคทำเป็นเครื่องมือดักปลาไหล หรือชาวบ้านเรียกบั้งลัน

*****เป็นการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านในอดีตจากเดิมทำมาจากไม้ไผ่และปรับเปลี่ยนเป็นท่อพีวิซีแทนเพื่อง่ายและสะดวกใช้งานได้ยาวนาน

*****คุณตาวารินทร์  ยนต์วิราษ์  บอกว่า  ตนเองมีอาชีพดักปลาไหลขายมานานหลายสิบปีแล้ว  การดักปลาไหล สามารถหาได้ตลอดทั้งปี  เพียงแค่สถานที่นั้นต้องน้ำและเป็นแหล่งธรรมชาติที่สมบูรณ์

*****การดักปลาไหล จะต้องมีเหยื่อล่อปลาไหลเข้ามาติดกับดัก  คือ หัวหอยเชอรี่ที่ทำการแกะออกจากเปลือกสดๆ หรือไส้เดือนที่หาได้ตามธรรมชาติ  จากนั้นก็นำมาใส่ไว้ข้างในบั้งลัน และนำบั้งลันไปวางไว้ตามพุ่มไม้ พุ่มหญ้าในที่มีน้ำ หรือตามหนอง บึง

*****สำหรับการดักจะต้องเอาด้านที่มีงาจุ่มลงในน้ำ และให้ปลายท่ออีกด้านหนึ่งที่ทำเป็นช่องไว้สำหรับให้อากาศเข้าไปโพล่เหนือน้ำ เพื่อให้ปลาไหลที่เข้าไปติดกับดักยังคงตัวสดๆ ไม่ตาย  ทำการดักทิ้งไว้ 1 คืน  เมื่อปลาไหลได้กลิ่นเหยื่อ ก็หลงเข้ามาติดกับดักบั้งลันและออกไม่ได้

***** จากนั้นในช่วงตอนเช้าสายๆทุกวันตนเองก็จะออกมาเก็บและสำรวจบั้งลัน เพื่อนำปลาไหลไปจำหน่ายให้กับลูกค้าที่สั่งจองไว้  โดยปลาไหลที่ดักได้ในแต่ละวัน  มีน้ำหนักมากกว่า 1-2 กิโลกรัมเลยทีเดียว 

*****แล้วนำไปคัดไซร์ ขนาด จำหน่ายให้กับลูกค้า หรือแม่ค้าในร้านอาหาร ในราคา กิโลกรัมละ 150-200 บาท  สำหรับ การดักปลาไหล

*****ตนเองอาศัยจดจำวิธีการดักและทำอุปกรณ์ในการดักปลาไหลมาจากพ่อแม่ในสมัยอดีต แตกต่างจากเมื่อก่อนคือจะใช้ไม้ไผ่ในการทำบั้งลัน  ปัจจุบันไม่ไผ่ก็เริ่มมีน้อย จึงได้นำท่อพีวีซีมาประยุกต์ใช้แทนแถมใช้งานได้ยาวนานหลายปี

*****นับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าสนใจยิ่งนัก.!!

ประดิษฐ์ อรรคฮาตศรี/เรื่อง-ภาพ