กลุ่มปตท.เปิดตัวโซลาร์ชนิดลอยน้ำทะเลแห่งแรกของไทย

ระยอง..0นายวิทวัส สวัสดิ์-ชูโต ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม บริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) (ปตท.) เผยว่า ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ได้นำพัฒนาการใช้พลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย สอดรับกับนโยบายรัฐในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยได้ริเริ่มโครงการนำร่องการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดลอยน้ำทะเล ขนาด 100 กิโลวัตต์ ในพื้นที่บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด ต.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง ซึ่งมีพื้นที่ติดทะเลเหมาะกับการเป็นต้นแบบติดตั้งการใช้งาน

ทั้งนี้บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) ได้พัฒนานวัตกรรมเม็ดพลาสติกเกรดพิเศษเพื่อนำมาผลิตทุ่นลอยน้ำ เพิ่มสารลดการสะสมของเพรียงทะเล ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์ทะเล และบริษัท โกลบอล เพำเวอร์ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหำชน) (GPSC) ในฐานะ แกนนำการดำเนินธุรกิจไฟฟ้าของ กลุ่ม ปตท. ให้ บริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด (CHPP) เป็นผู้ออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในน้ำทะเล โดยในระยะแรกจะนำไฟฟ้า ที่ผลิตได้ไปใช้ภายในสำนักงาน เพื่อเป็นต้นแบบการศึกษาและพัฒนารูปแบบทางธุรกิจ

ด้านนายปฏิภาณ สุคนธมาน ผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จากัด (มหาชน) (GC)  กล่าวว่า เพื่อตอบสนองการใช้งานทุ่นลอยน้าชนิดลอยในทะเล ที่มักประสบปัญหาการเกาะสะสมของเพรียงทะเล และการใช้งานกลางแดดจัด ทำให้ทุ่นลอยน้ำเกิดความเสียหายและอายุการใช้งานสั้น นอกจากนี้ ยังเป็นเป็นทุ่นลอยน้ำต้นแบบที่เพิ่มสารต้านการยึดเกาะและลดการเกาะสะสมของเพรียงทะเลเป็นครั้งแรก ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสดงอาทิตย์  มีความทนทานต่อการใช้งานกลางแจ้งได้ดีเยี่ยม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะสัตว์และพืชทะเล

ขณะที่หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จากัด (PTT Tank) กล่าวว่า จากการติดตั้งระบบต้นแบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดลอยน้าทะเล ขนาด 100 กิโลวัตต์ สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าให้กับ PTT Tank ปีละ 390,000 บาท ตลอดอายุโครงการที่ 7.8 ล้านบาท และช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงปีละ 36 ตัน ตลอดอายุโครงการกว่า 725 ตัน เป็นการต่อยอดองค์ความรู้และสร้างแหล่งเรียนรู้พลังงานหมุนเวียนให้กับชุมชน เยาวชนในพื้นที่รวมถึงผู้ที่มีความสนใจทั่วไป