24 ตุลาคม 2024
Latest:
update newsข่าวเด่นข่าวในประเทศ

ร้อยเอ็ดพัฒนาศักยภาพนักบำบัดในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและสารเสพติดในรูปแบบระยะยาว

*****ร้อยเอ็ด..ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชัยวัฒน์ ชัยเวชพิสิฐ รองผวจงร้อยเอ็ด เปิดการอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพนักบำบัดในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและสารเสพติดในรูปแบบระยะยาว ณ ศูนย์ประชุมสาเภตฮออล์ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด  โดยมี ดร.นพ.สุรเดชช ชวะเดช นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด หัวหน้าส่วนราชการ และภาคีเครือข่าย เข้าร่วมอบรม

*****ดร.นพ.สุรเดชช ชวะเดช นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า สถานการณ์ยาเสพติดของประเทศไทยยังไม่ลดระดับความรุนแรง เป็นผลมาจากการขยายตัวของการผลิต ส่งผลให้ยาเสพติดกระจายไปพื้นที่ต่างๆ ของประเทศและมีผู้เสพรายใหม่เข้าสู่วงจรยาเสพติดมากขึ้นขัอมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ  ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2566 พบว่ามีการนำผู้เสพยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาฟื้นฟู จำนวน 179,995 ราย 127,867 รายและ 195,260 ราย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ ข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ  จังหวัดร้อยเอ็ด ในปึงบประมาณ พ.ศ. 2564-2566 พบว่ามีการนำผู้เสพยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาฟื้นฟู จำนวน 3,391ราย, 1,904 ราย และ 4,188 รายซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันอย่างไรก็ตามแม้มีผู้ป่วยยาและสารเสพติดจำนวนมากขึ้นแต่ศักยภาพรับเข้าบำบัดรักษาของสถานบำบัดฟื้นฟู ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ทั้งหมด

*****โดยเฉพาะจำนวนเตียงที่ไม่เพียงพอและขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาศักยภาพนักบำบัดในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและสารเสพติดในรูปแบบระยะยาว “มินิธัญญารักษ์”ประจำปีงบประมาณ พเศ. 2567 ในระหว่างวันที่ 5-24 สิงหาคม 2567 โดยแบ่งการอบรมเป็นภาคทฤษฎี ระยะเวลา 3 วัน ในระหว่างวันที่ 5 – 7 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมสาเกตฮออลล์อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคปฏิบัติรุ่นที่ 1 ระยะเวลา 7 วัน ในระหว่างวันที่ 8 – 9สิงหาคม 2567 และ ในระหว่างวันที่ 13 – 17 สิงหาคม 2567 ภาคปฏิบัติรุ่นที่ 2ระยะเวลา 7 วัน ในระหว่างวันที่ 18- 24 สิงหาคม 2567 ณโรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

***** พร้อมคัดเลือกบุคลากรที่จะทำหน้าที่ในการเป็นนักบำบัดและผู้ช่วยนักบำบัดจากโรงพยาบาลชุมชนที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการจัดบริการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดระยะยาว และเพื่อให้โรงพยาบาลชุมชนที่ทำการเปิดมินิธัญญารักษ์ มีความพร้อมในการดำเนินการ และกระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยเป็นไปอย่างได้มาตรฐาน เกิดความเชี่ยวชาญในด้านการบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดของหน่วยงานในพื้นที่ต่อไป ผู้เข้าร่วมอบรม ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมินิธัญญารักษ์และบ้านสบายใจแห่งๆ ละ 5 คน จำนวน 30 คน ผู้ช่วยนักบำบัด ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมินิธัญญารักษ์ แห่งๆ ละ 2 คน จำนวน 10 คน ผู้ช่วยนักบำบัด (เจ้าหน้าที่ทหาร 10 นาย และเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 นาย)จำนวน 15 คน  คณะวิทยากรและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดรัอยเอ็ดจำนวน 5 คน รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60 คน

คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ