17 พฤษภาคม 2024
Latest:
update newsข่าวอปท.ข่าวเด่นข่าวในประเทศ

ทต.ทับมา เปิดโครงการสมองเสื่อมในวัยชรา ชีวายืนยาว จัดกิจกรรมส่งเสริมให้คนในชุมชนตระหนักเฝ้าระวังผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

*****ระยอง..ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ ผวจ.ระยอง ประธานเปิดโครงการสมองเสื่อมในวัยชรา ชีวายืนยาว(Community Thapma CAFE for Dementia)โดยมีประชาชนทุกกลุ่มวัยในพื้นที่ ต.ทับมา เข้าร่วมกิจกรรม 1,000 คน ในงานมีกิจกรรมนิทรรศการวิชาการจาก อปท. 3 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลเมืองบึงยี่โถ จ.ปทุมธานี เทศบาลเมืองลำพูน จ.ลำพูน และ อบต.ท่างาม จ.สิงห์บุรี ผลงานผลิตภัณฑ์ผู้สูงอายุ การเสวนาหัวข้อ”แนวคิด มุมมองและประสบการณ์ การดูแลผู้สูงอายุ สมองเสื่อม” และการแสดงของผู้สูงอายุ รวมทั้งจัดกิจกรรมใช้รูปการนั่งดื่มกาแฟมาปรับใช้ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รีแลกซ์

*****นายประเสริฐ กล่าวว่า ปัจจุบัน ต.ทับมา ปัจุบันตำบลทับมา มีผู้สูงอายุจะำยวน 2890 คน ผู้สูงอายุบางส่วนขาดการดูแลจากครอบครัว โดยไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร เทศบาลตำบลทับมา จึงได้เข้าร่วมการประชุมการออกแบบระบบความร่วมมือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและคนพิการร่วมกันผู้แทนจากประเทศญี่ปุ่นและคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนได้จัดตั้งศูนย์บริการและฟื้นฟูสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลตำบลทับมาขึ้นในวันที่ 14 มีนาคม 2566

*****เทศบาลตำบลทับมามีนโยบายในการดูแลผู้สูงอายุในตำบลทับมาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตโดยเทศบาลตำบลทับมาได้รับการสนับสนุนจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ,ไจก้า ซึ่งมีโนเกะซากะโกลคอล และเทศบาลยูกาวะระ ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้รับผิดชอบหลักในนามประเทศญี่ปุ่น โดยมีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเทศบาลเมืองยี่โถ จ.ปทุมธานี เป็นหน่วยงานประสานงานหลักในประเทศไทย โดยเทศบาลตำบลทับมาเป็น 1 ใน 9 แห่งแรกของ อปท.และอีก 7 แห่งของประเทศ ที่ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมเป็นภาคีเครือข่ายด้านการพัฒนา การจัดการบริการผู้สูงอายุในชุมชน และต่อมามีการขยายผล และยังเพิ่มเติมไปยัง อปท.อีก 16 แห่ง

*****โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นภายใต้โครงการในครั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนา ส่งเสริมให้ ปชช.เกิดความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงการเฝ้าระวังผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในพื้นที่ ต.ทับมา เป็นโรคที่พบมากในวัยผู้สูงอายุ เป็นภาวะที่มีความสามารถทางสติปัญญาลดลง มีความคิด และความจำเป็นบกพร่อง นอกจากนี้ยังทำให้ผู้สูงอายุ มีอาการหลงลืม มีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน เนื้องอกในสมอง เป็นต้น

นิตยา  ทุมมานนท์/รายงาน