2 พฤษภาคม 2024
Latest:
update newsข่าวเด่นข่าวในประเทศ

คณะกรรมมาธิการการปกครองสภาผู้แทนราษฎร ศึกษาดูงานการบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม จากต้นทางจนถึงปลายทาง” ณ ศูนย์เรียนรู้ ชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ชุมชนบ้านคุยมะม่วง

*****กำแพงเพชร..ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุรสิทธิ์ วงศ์วิทยานันท์   รองประธานคณะกรรมาธิการ การปกครอง สภาผู้แทนราษฎร คนที่สาม พร้อม นางสาวพิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ กรรมาธิการ  และคณะ   รับฟังบรรยายสรุป และศึกษาดูงาน  เรื่อง “การบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม   จากต้นทางจนถึงปลายทาง” ณ ศูนย์เรียนรู้   ชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ชุมชนบ้านคุยมะม่วง ตำบลโนนพลวง  อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร

*****การศึกษาดูงาน เรื่อง “การบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมจากต้นทางจนถึงปลายทาง” ในครั้งนี้มีประเด็นการศึกษาดูงานเกี่ยวกับ รูปแบบ แนวทาง และผลการดำเนินงานโครงการเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาครัฐจากต้นทางจนถึงปลายทาง เพื่อการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินงาน และแนวทางการแก้ไขปัญหา

*****โดยมีผู้แทนชุมชนนำเสนอข้อมูล บรรยายสรุปข้อมูลการดำเนินโครงการตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจนประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรมและสามารถคว้ารางวัลได้มากมาย ก่อนจะนำกรรมาธิการลงพื้นที่ดูการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในบริเวณศูนย์เรียนรู้ชุมชนปลอดขยะ(Zero Waste) ชุมชนบ้านคุยมะม่วง และเดินทางไปเยี่ยมชมการคัดแยกขยะของแต่ละครัวเรือนในชุมชน ซึ่งมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้อง มีการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยใช้แนวคิดการจัดการขยะเหลือศูนย์เป็นแนวทางการดำเนินงาน

*****สำหรับศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ ถือเป็นศูนย์เรียนรู้ฯ แห่งแรกของจังหวัดกำแพงเพชรที่ขยายผลการจัดการขยะอย่างยั่งยืนสู่ชุมชนต่าง ๆ และชุมชนบ้านคุยมะม่วงถือเป็นชุมชนต้นแบบของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่การลดปริมาณขยะมูลฝอย การคัดแยกขยะ ซึ่งเป็นจุดเด่นของชุมชน ที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

*****นางสาววิรัช เจนจบ อายุ 39 คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ชุมชนบ้านคุยมะม่วง เปิดเผยว่า หมู่บ้านคุยมะม่วงมีการบริหารจัดการขยะ ในรูปแบบกองทุนขยะบุญ โดยจะออกไปรับขยะตามวันที่กำหนด ก่อนจะนำมาคัดแยกรวบรวมนำไปขาย เพื่อนำรายได้กลับมาจัดสวัสดิการภายในชุมชน ในครัวเรือน โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีเด็กแรกเกิด หรือที่มีผู้ป่วยติดเตียง ทำให้เกิดความภาคภูมิใจและจะยังคงดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป