18 พฤษภาคม 2024
Latest:
update newsการเงิน-ธนาคารข่าวเด่นเศรษฐกิจ

ธนาคารแห่งชาติเชิญสื่ออีสาน20จังหวัดแถลงข่าวเศรษฐกิจในหัวข้อ”เหลียวหลัง แลหน้า เศรษฐกิจการเงินอีสาน”

*****นครราชสีมา..ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธปท. สภอ.) แถลงข่าวเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำไตรมาส 1 ปี 2567 หัวข้อ เหลียวหลัง…แลหน้า…เศรษฐกิจการเงินอีสาน ที่ห้องประชุมโคราช 2 โรงแรมเซ็นทารา อ.เมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ 3 พ.ค.67  โดยเป็นการแถลงข่าวสัญจรครั้งแรก สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ บทบาทหน้าที่ของ ธปท. ภาคอีสาน ได้แก่ 1) จับชีพจรเศรษฐกิจการเงินในพื้นที่ รับฟังและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 2) สร้างองค์ความรู้วิชาการเพื่อตอบโจทย์ในพื้นที่ 3) ผลักดันนโยบาย ธปท. ให้กับพื้นที่ 4) เป็นตัวกลางความร่วมมือกับทุกภาคส่วน 5) สนับสนุนให้คนอีสานมีความรู้ทางด้านการเงินและเท่าทันภัยการเงิน โครงสร้างเศรษฐกิจภาคอีสาน 1) ภาคเกษตรเป็นเส้นเลือดหลักของคนอีสาน 2) ภาคเกษตรส่วนใหญ่พึ่งฟ้าพึ่งฝน และความสามารถในการทำเกษตรลดลง 3) รายได้ไม่เพียงพอรายจ่ายในภาคครัวเรือน นำไปสู่ปัญหาหนี้

*****จากโครงสร้างดังกล่าวจึงทำให้เศรษฐกิจภาคอีสานต่างจากประเทศ และขึ้นอยู่กับฟ้าฝนเป็นหลักปี 2566 เศรษฐกิจประเทศฟื้นตัวจากการบริโภคและท่องเที่ยว ขณะที่เศรษฐกิจภาคอีสานหดตัว ตามการบริโภคจากรายได้ที่ลดลงทั้งในและนอกภาคเกษตร หมดมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ และค่าครองชีพยังอยู่ในระดับสูง แม้การท่องเที่ยวฟื้นตัวแต่ช่วยสนับสนุนได้น้อย เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยภาพรวมเศรษฐกิจ ไตรมาส 1 ปี 2567 อ่อนแรงต่อเนื่องจากปี 2566 จากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐลดลง ค่าครองชีพในสินค้าหมวดอุปโภคบริโภคยังอยู่ในระดับสูง และตลาดแรงงานอ่อนแอลงจากผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรลดลง นอกจากนี้ ยังเห็นสัญญาณเปราะบางต่อเนื่องจากปี 2566 และกำลังซื้อมีความเปราะบางมากขึ้น ยอดจดทะเบียนรถกระบะต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงรอบสิบห้าปี และยอดขายบ้านในระดับกลางและล่างลดลงต่อเนื่อง จากรายได้ที่ลดลง รวมทั้งความระมัดระวังในการพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ดี มีปัจจัยช่วยพยุงการบริโภคได้บ้างจากผลของราคาผลผลิตเกษตรที่ดี และการท่องเที่ยวที่มีผู้เยี่ยมเยือนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2566

*****ระยะถัดไป เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือคาดว่าจะค่อย ๆ ฟื้นตัว จากงบประมาณภาครัฐปี 2567 ที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งคาดว่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้หลังไตรมาส 2 ทำให้ภาคการค้า การก่อสร้างตามการลงทุนของรัฐเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2566 รายได้เกษตรกระจายตัวมากขึ้นจากผลดีของภัยแล้งที่คลี่คลายในช่วงหลังของปี 2567 คาดว่าจะส่งผลดีต่อผลผลิตข้าว การผลิตเพื่อการส่งออกในหมวดอาหารแปรรูปและเครื่องแต่งกายมีแนวโน้มฟื้นตัวดี และการท่องเที่ยวมีนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มใหม่ ๆ เข้ามากระจายหลายจังหวัดเพิ่มมากขึ้น

*****ดร.ทรงธรรม กล่าวอีกว่า สถานะการณ์ของเศรษฐกิจอิสาน ในปีที่แล้ว ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ปี2566 ยังไม่ฟื้นตัวและติดลบด้วย เนื่องจากได้รับผลกระทบ จากการท่องเที่ยว เพราะภาคอีสานการท่องเที่ยวยังน้อย มาตรการที่ภาครัฐช่วยเหลือในปี 2565ยังเบาบางลง ในปี 67ทั้งปีในไตรมาสที่ 1ยังไม่ค่อยดีนัก การบริโภคส่วนใหญ่ ยังได้รับผลกระทบและยังไม่ฟื้นตัว โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค สินค้าชุมชน พวกรถกระบะ ยังมีความ แรงกดดันอยู่ แต่เชื่อว่าปี 2567ไม่น่าจะติดลบเท่าปี 2566 และพอขยายตัวได้บ้าง อย่างปัจจุบันมามีการเบิกจ่ายที่ล่าช้า และการเบิกจ่ายไม่ทัน ส่วนภัยแล้งเราได้รับเต็มๆ และในระยะช่วงหลังเราน่าจะได้รับน้ำฝน ช่วยให้น้ำข้าวของคนอีสานได้รับประโยชน์มากขึ้น และผลผลิตการเกษตร ระยะที่ผ่านมา ในต้นปียังใช้ได้ ทั้งราคามันสำปะหลัง ราคาอ้อย และยางพารา ก็มีแนวโน้มดีขึ้น และการท่องเที่ยวก็จะดีขึ้นเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะยังเล็กอยู่ก็ตาม ประมาณประมาณ คาดว่าประมาณ2%ของภาคอีสานที่จะเข้ามาเที่ยวกันเยอะขึ้น เพราะระยะหลัง จะมีคนต่างชาติเริ่มเข้ามาเที่ยวที่ภาคอีสานเรามากขึ้น จึงคาดว่าเศรษฐกิจจะโตขึ้นแน่นอน และไม่ติดลบ อีกอย่างความมั่นใจในเรื่องโควิดก็ไม่มีแล้ว เรามีเทศกาลหลายอย่างของหลายจังหวัด ผมคิดว่าเป็นตัวกระตุ้นอีกตัวหนึ่ง ที่จะขยายตัวได้

*****อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวยังมีปัญหาหลายอย่าง เรื่องของโครงสร้างที่เราจะต้องแก้ไข ผลผลิตทางการเกษตรต่อไร่ เรายังสู้ต่างชาติไม่ได้ และสุดท้ายเรื่องรายได้ไม่พอรายจ่าย ยังไง ช่วงนี้ต้องเพิ่ม ในการมีวินัยเรื่องการเงินแน่นอน และต้องได้รับความร่วมมือจาก ธนาคาร ธ.ก.ส  ธนาคารออมสิน กองทุนหมู่บ้าน และเพิ่มความรู้เข้าไปใน กระทรวงศึกษาธิการ ที่จะต้องขยายออกไปเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร เพื่อให้ความรู้กับประชาชนต่อไป

สมบูรณ นาสาทร/รายงาน