1 พฤษภาคม 2024
Latest:
update newsข่าวเด่นข่าวในประเทศ

สมาคมสื่อต้านคอร์รัปชั่น ยกย่อง “วีระ-อรรถพล”คว้ารางวัล “ANTI-CORRUPTION AWARDS 2022” ทีวีสีช่อง3-ช่อง7-สมาคมสื่อช่อสะอาด” พาเหรดรับรางวัลอันทรงคุณค่า

*****กรุงเทพฯ..ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) จัดงานมอบรางวัล “ANTI-CORRUPTION AWARDS 2022” ส่งเสริมการต้านคอร์รัปชั่น ประจำปี 2565 muj​ห้องเบญจนฤมิต สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5)g,njv;yomuj 13 T”8”65  โดยมี นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เป็นประธาน พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ผู้นำ… สุจริต”

*****ดร.เอก์ เหลืองสอาด นายกสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย) กล่าวว่า นับเป็นครั้งที่สี่ที่สมาคมฯ จัดงานมอบรางวัล “ANTI-CORRUPTION AWARDS 2022” ส่งเสริมการต้านคอร์รัปชั่น ประจำปี 2565​ ขึ้น เพื่อยกย่อง เป็นขวัญและกำลังใจให้กับองค์กร บุคคล และสื่อมวลชน ที่ยึดหลักธรรมาภิบาล ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอุตสาหะ ซื่อสัตย์ สุจริต และถือเป็นโอกาสดีที่สมาคมฯ ดำเนินการมากว่า 1 ทศวรรษ ในปีนี้ ครบรอบ 11 ปี  สมาคมฯ รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติต่อต้านการทุจริต พร้อมกับองค์กรพันธมิตร มูลนิธิต่อต้านการทุจริต องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น และภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาลแห่งชาติ รวมทั้งทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ดำเนินโครงการ “ผู้นำธรรมาภิบาล” โดยผลักดันจัดตั้ง สภาธรรมาภิบาลนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นศูนย์กลางสร้างพลเมืองสุจริต เป็นอนาคตของชาติสืบไป

*****ด้าน นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ได้มาเป็นประธานพิธีมอบรางวัล “ANTI-CORRUPTION AWARDS 2022” ส่งเสริมการต้านคอร์รัปชั่น ประจำปี 2565 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่สี่ และขอแสดงความยินดีกับสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ในโอกาสครบรอบ 11 ปี ขอชื่นชมสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่นฯ ที่จัดงานอันทรงคุณค่านี้ และขอให้การจัดงานครั้งนี้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ทุกประการ

*****สำหรับรางวัล “ANTI-CORRUPTION AWARDS 2022” ส่งเสริมการต้านคอร์รัปชั่น ประจำปี 2565 แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทองค์กร บุคคล และสื่อสารมวลชน ประเภท องค์กรได้แก่สมาคมสื่อช่อสะอาด มี นายสุทนต์ กล้าการขาย เป็นนายกสมาคมฯ ได้ขับเคลื่อนกิจกรรมต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียง และสื่อออนไลน์ เช่น รายการวิทยุ “คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต” โดยร่วมมือกับมูลนิธิต่อต้านการทุจริต ออกอากาศครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ส่งผลให้ประชาชนมีความตื่นตัวกับปัญหาการทุจริต และร่วมเป็นภาคีเครือข่ายแจ้งเบาะแสการทุจริต

ประเภท บุคคล ได้แก่ 1.นายวีระ สมความคิด ประธานเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่น (คปต.) ได้ตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่นภาคประชาชนมาอย่างยาวนาน สามารถนำข้อมูลการทุจริตมาตีแผ่ จนนำไปสู่การตรวจสอบ และนำผู้กระทำผิดรับโทษตามกฎหมาย ล่าสุดได้เปิดเผยข้อมูลนักการเมืองถือครองที่ดิน ส.ป.ก.4-01 และที่ดินป่าสงวนฯ ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี โดยมิชอบด้วยกฎหมาย โดยศาลฎีกาพิพากษาว่านักการเมืองผู้นั้น มีความผิดจริยธรรมอย่างร้ายแรง และถูกตัดสิทธิทางการเมือง  2.ศาสตราจารย์พิเศษ อรรถพล ใหญ่สว่าง อดีตอัยการสูงสุด และนายกสมาคมชาวฉะเชิงเทรา ในวงการนักกฎหมายให้ความเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา และยังมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันปฏิรูปพัฒนาสำนักงานอัยการสูงสุดให้มีความโปร่งใส เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) โดยผลักดันร่างระเบียบสอบวินัยชั้นต้นรองอัยการสูงสุด และในเวลาต่อมา ระเบียบนี้ได้ถูกนำมาใช้กับ นายเนตร นาคสุข รองอัยการสูงสุด สั่งไม่ฟ้องคดี นายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา เป็นครั้งแรก

*****ประเภท สื่อสารมวลชนได้แก่ 1.สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง3 รายการ “ข่าว 3 มติ” สกู๊ปข่าว เรื่อง การทุจริตยักยอกเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดขอนแก่น”ข่าว 3 มิติ”ได้ติดตามเกาะติดข่าวปัญหาของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น จำกัด กรณีอดีตผู้บริหารสหกรณ์ฯยักยอกเงินของสหกรณ์ ประมาณ 431 ล้านบาท เข้าบัญชีส่วนตัว ต่อมาผู้บริหารรายนี้ ได้รับเลือกตั้งเป็นอ ส.ส.บัญชีของพรรคการเมืองใหญ่ ระหว่างการต่อสู้คดีได้ยอมรับต่อศาลว่า ยักยอกเงินไปจริง โดยจะผ่อนชำระเงินดังกล่าวคืนสหกรณ์ฯ ปีละ 50 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขให้สหกรณ์ยุติการดำเนินคดี ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาถูกอายัดทรัพย์ชั่วคราว

*****2.สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 รายการ “คอลัมน์หมายเลข 7” จากผลงานสกู๊ปข่าว เรื่อง การทุจริตเงินอุดหนุนวัด อบจ.สมุทรปราการ เผยแพร่ : 2564-2565 “คอลัมน์หมายเลข 7” ได้ขยายผลจากข้อมูลร้องเรียนเกี่ยวกับข้อพิรุธเงินอุดหนุนวัด ในจังหวัดสมุทรปราการ ที่ได้รับงบประมาณจากอบจ.สมุทรปราการ เพื่อนำไปก่อสร้างศาลาอเนกประสงค์ และเตาเผาศพจำนวน 60 วัด มูลค่าเกือบ 800 ล้านบาท ทั้งนี้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ตรวจสอบผู้บริหาร อบจ.สมุทรปราการ ซึ่งใช้เวลาตรวจสอบนานหลายปี กระทั่งปี 2565 ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดอดีตผู้บริหารอบจ.สมุทรปราการ กับพวก ร่วมกันอนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้กับวัดโดยมิชอบ